เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 ณ ห้องดวงเดือน พิศาลบุตร อาชวอำรุง
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดบรรยายพิเศษเรื่อง “ทำงานอย่างไรกับกฎหมาย PDPA" ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม” ประธานคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจุฬาฯ เป็นวิทยากร การนี้คณบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ) กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมรับฟังบรรยาย มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังบรรยายห้องประชุมและออนไลน์จำนวนทั้งสิ้น 249 คน
การบรรยายดังกล่าววิทยากรได้ให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันเกือบทุก ๆ ด้าน ส่งผลให้หลายหน่วยงานต้องปรับตัวตามกฎหมายที่บังคับใช้ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 เป็นต้นมา ประกอบกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2563 จำเป็นอย่างยิ่งที่ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน ตลอดจนแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติงานที่ไม่ขัดต่อระเบียบและข้อกำหนดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
PDPA สำคัญอย่างไร ?
ความสำคัญของ PDPA คือการทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บไปแล้ว หรือกำลังจะถูกจัดเก็บมากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบและยิมยอมการเก็บข้อมูลส่วนตัว และสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้านและเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้ และสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว
สิทธิที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของข้อมูล ทำให้ผู้ประกอบการขององค์กรและบริษัทต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเก็บรวบรวมและนำข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงานในองค์กร หรือบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติของ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โดยหากคุณเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นตัวแทนองค์กรที่ดำเนินการเรื่อง PDPA วันนี้เราจะช่วยคุณเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA กัน
หากคุณต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการเก็บรักษาและดูแลความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคคลของลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้อง คุณจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้โดยด่วน เพราะในขณะนี้ประเทศไทยได้เริ่มบังคับใช้ พ.ร.บ. PDPA แล้ว หากคุณไม่ดำเนินการตามหลักของ PDPA คุณอาจต้องรับโทษร้ายแรงทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง