สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 ตาม พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เว็บไซต์: https://www.nstda.or.th/th/
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีพันธกิจในด้านจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และกรอบงบประมาณเพื่อการจัดสรรทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ ศึกษาสถานการณ์ภาพรวมด้านการวิจัยและนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการสนับสนุนงานด้านวิชาการ งานธุรการ และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ กสว.
เว็บไซต์: https://www.tsri.or.th/
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติมุ่งมั่นการนำองค์กรสู่การเป็นหน่วยงานกลางด้านการบริหารงานวิจัยของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนในระบบวิจัยยอมรับในบทบาทการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ การส่งเสริมการวิจัยอย่างมีทิศทาง การประเมินผลและการจัดการความรู้จากการวิจัย การวางมาตรฐานด้านการวิจัย การเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงฐานข้อมูลการวิจัยของประเทศโดยการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ
เว็บไซต์: https://www.nrct.go.th/
ระบบสารสนเทศ: http://nriis.nrct.go.th/
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นองค์กรหลักในการสร้างสรรค์ และจัดการด้านนโยบาย และแผนพลังงานเพื่อความยั่งยืนของประเทศ โดยมีภารกิจหลักเป็นไปตาม พระราชบัญญัติ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนเสนอแนะมาตรการการบริหารจัดการด้านราคาพลังงาน ให้มีราคาที่เป็นธรรมและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยังยืนต่อไป “สร้างสรรค์พลังงานไทย ก้าวไกลสู่สังคม”
เว็บไซต์: http://www.eppo.go.th/index.php/th/
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการอุดมศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีความเป็นอิสระทางวิชาการและการบริหารจัดการ ให้มีการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และให้ดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ ดูแลการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่อยู่ในสังกัดกระทรวงหรือกำกับดูแลของรัฐมนตรี รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่อยู่นอกกระทรวงเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และดำเนินการไปในทิศทางที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
จัดให้มีระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และความร่วมมือในด้านการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศ อาจมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดหรือในกำกับเป็นผู้ดำเนินการ หรืออาจร่วมดำเนินการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเอกชนหรือต่างประเทศก็ได้
เว็บไซต์: https://www.mhesi.go.th/
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการวิจัยการเกษตร บุคลากรด้านการวิจัยการเกษตรและข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร
เว็บไซต์: http://www.arda.or.th/index.php
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
เป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พร้อมๆ กับการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีโครงสร้างองค์กรและการบริหารที่เน้นความคล่องตัว เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพได้ (Better Knowledge Management for Better Health Systems)
เว็บไซต์: https://www.hsri.or.th/researcher
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
ส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม และยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
เว็บไซต์: https://www.nia.or.th/
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ระบบการบริหารและจัดการทุนของไทย แต่เดิมมีหน่วยงานบริหารและจัดการทุน 4 หน่วยงาน คือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีภารกิจของตนเอง ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมทุกมิติของการขับเคลื่อนไทยสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และไม่มีกำลังพอที่จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยสามารถสร้างนวัตกรรมในตลาดโลกได้ และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภานโยบายจึงได้มีการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านภายใต้สภานโยบายขึ้น โดยไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหารที่มีความเป็นอิสระ และมี สอวช. ทำหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคล โดยไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการบริหารและผู้อำนวยการ ทั้งนี้ 3 หน่วยบริหารและจัดการทุน ใน สอวช. ประกอบด้วย หน่วยด้านการพัฒนาด้านกำลังคน หน่วยด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และหน่วยด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่มุ่งเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก โดยทั้ง 3 หน่วยที่ตั้งขึ้น เมื่อขึ้นรูปและฟูมฟักเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเป็นหน่วยงานบริหารและจัดการทุนที่มีประสิทธิภาพแล้วจะเร่ง Spin off ออกจาก สอวช. โดยเร็วที่สุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 ปี
เว็บไซต์: https://www.nxpo.or.th/A/
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
ระบบการบริหารและจัดการทุนของไทย แต่เดิมมีหน่วยงานบริหารและจัดการทุน 4 หน่วยงาน คือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีภารกิจของตนเอง ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมทุกมิติของการขับเคลื่อนไทยสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และไม่มีกำลังพอที่จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยสามารถสร้างนวัตกรรมในตลาดโลกได้ และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภานโยบายจึงได้มีการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านภายใต้สภานโยบายขึ้น โดยไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหารที่มีความเป็นอิสระ และมี สอวช. ทำหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคล โดยไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการบริหารและผู้อำนวยการ ทั้งนี้ 3 หน่วยบริหารและจัดการทุน ใน สอวช. ประกอบด้วย หน่วยด้านการพัฒนาด้านกำลังคน หน่วยด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และหน่วยด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่มุ่งเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก โดยทั้ง 3 หน่วยที่ตั้งขึ้น เมื่อขึ้นรูปและฟูมฟักเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเป็นหน่วยงานบริหารและจัดการทุนที่มีประสิทธิภาพแล้วจะเร่ง Spin off ออกจาก สอวช. โดยเร็วที่สุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 ปี
เว็บไซต์: https://www.nxpo.or.th/B/
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ระบบการบริหารและจัดการทุนของไทย แต่เดิมมีหน่วยงานบริหารและจัดการทุน 4 หน่วยงาน คือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีภารกิจของตนเอง ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมทุกมิติของการขับเคลื่อนไทยสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และไม่มีกำลังพอที่จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยสามารถสร้างนวัตกรรมในตลาดโลกได้ และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภานโยบายจึงได้มีการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านภายใต้สภานโยบายขึ้น โดยไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหารที่มีความเป็นอิสระ และมี สอวช. ทำหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคล โดยไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการบริหารและผู้อำนวยการ ทั้งนี้ 3 หน่วยบริหารและจัดการทุน ใน สอวช. ประกอบด้วย หน่วยด้านการพัฒนาด้านกำลังคน หน่วยด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และหน่วยด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่มุ่งเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก โดยทั้ง 3 หน่วยที่ตั้งขึ้น เมื่อขึ้นรูปและฟูมฟักเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเป็นหน่วยงานบริหารและจัดการทุนที่มีประสิทธิภาพแล้วจะเร่ง Spin off ออกจาก สอวช. โดยเร็วที่สุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 ปี
เว็บไซต์: https://www.nxpo.or.th/C/