เมื่อวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00-14.30 น. คณะครุศาสตร์ จัดการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "เทคนิคการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ในหลักสูตรคณะครุศาสตร์" โดย คุณธีระยุทธ เฉยทิม Associate Director บริษัท True Corporation ซึ่งการบรรยายดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะครุศาสตร์ มีบุคลากรสายปฏิบัติการของคณะครุศาสตร์และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง จำนวน 120 คน ร่วมเข้าฟังผ่าน Zoom Meeting
โดยมีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของแนวทางการกำหนดBrand Identity โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์ขององค์กรเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบสื่อสาร (Communication Design) พร้อมได้ยกตัวอย่างองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
Art / Illustration =การสร้างองค์ประกอบภาพในการสื่อสาร เช่น รูปภาพสัญลักษณ์ ภาพประกอบ การทำภาพกราฟิก ภาพถ่าย
Typography =การออกแบบตัวอักษร ขนาด ความหนาบางของตัวอักษร ระยะห่างระหว่างบรรทัด ระยะห่างตัวอักษร การจัดช่องไฟ
Graphic Design= การออกแบบกราฟิกเป็นรูปแบบของการสื่อสารด้วยภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางแนวคิดโดยใช้เครื่องมือกราฟิกต่างๆ ไปสู่การวางLay out และองค์ประกอบภาพ การเลือกภาพสัญลักษณ์ และคำพูดที่เหมาะสมเพื่อแสดงเนื้อหาต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมี Writing / Editing = การสื่อสารในแต่ละรูปแบบก็มีความแตกต่างกันออกไป และวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข่าว การเขียนบทความ การเขียนนิยาย การเขียนเรื่องสั้น สารคดี โฆษณาขายสินค้า
Interactive Design = ด้วยโลกยุคดิจิทัลอันทรงพลังทำให้การสื่อสารถูกยกระดับ ไปสู่การออกแบบการสื่อสารที่สามารถโต้ตอบและสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ เช่น แอปพลิเคชัน เกม AR/VR โฆษณา ณ จุดขาย Social Media แพลตฟอร์มบริหารองค์ความรู้ (KM) Video Steaming
Visual Identity = อัตลักษณ์ที่มองเห็นได้ (Visual Identity) เช่น การออกแบบสัญลักษณ์ โลโก้ รูปร่าง รูปทรง รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารให้เกิดการจดจำที่ทุกครั้งเวลาผู้บริโภคเห็นโลโก้ จะได้สามารถรำลึกถึงแบรนด์ขององค์กรได้