รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง “THE SMARTER FUTURE OF HIGHER EDUCATION” จัดโดย สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา ร่วมกับ กลุ่มภารกิจวิจัยและบริการวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ชั้น 3 อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสัมมนาวิชาการครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสัมมนาระดับดุษฎีบัณฑิตทางการอุดมศึกษา สาขาวิชาอุดมศึกษา การสัมมนาวิชาการได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่
** ท่านที่ 1 ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในประเด็น “มหาวิทยาลัยก้าวสู่อนาคต”
1) Aging Society และ Disruption ส่งผลต่อมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน และในด้านทัศนคติของผู้เรียนยุคใหม่ ที่มีลักษณะการทำงานแบบ Multitasking และการเป็นผู้ประกอบการ
2) มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนา Human Adaptability การสร้างทักษะชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร
3) มหาวิทยาลัย ควรมีการสร้าง connect ไปสู่นายจ้าง ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย สถาบันวิจัยและแหล่งเงินทุนในการทำวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัย และไปสู่โรงเรียน
4) SMARTER ของมหาวิทยาลัย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ การเพิ่มคุณภาพ การเพิ่มความเร็ว การลดต้นทุน
การศึกษาที่มีคุณภาพดี สะท้อนได้จากการสร้างความน่าเชื่อถือในระดับสากล การสร้าง Platform ใหม่ในการเรียนการสอน และกลุ่มผู้เรียนใหม่ๆ โดยการ retrain และ reskill ในรูปแบบของ continuing education
** ท่านที่ 2 อาจารย์ ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในประเด็น “นวัตกรรมการเรียนรู้ในยุคการเปลี่ยนแปลง”
1) มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญในการถ่ายทอด Soft Skills อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่นิสิตนักศึกษาและบัณฑิต
2) การศึกษาข้ามศาสตร์ (cross-pollination)
3) การสร้างกลุ่มรายวิชาที่เป็น pathway การเรียนการสอนตาม step เน้นที่กลุ่มองค์กร มีการประเมินผลเพื่อสะท้อนผู้เรียน มีการทำกิจกรรมและจัด workshop ที่เน้นทั้ง reskill และ upskill ควบคู่กับการพัฒนาระบบ Credit Bank
** ท่านที่ 3 คุณวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ผู้บริหารเดอะสแตนดาร์ด (The Standard) ในประเด็น “คนรุ่นใหม่แห่งอนาคต”
1) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนวิชาที่มีลักษณะเป็น customize your life
2) ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำในสิ่งที่ถนัด การพัฒนาเป็นทักษะความสามารถของผู้เรียนให้สามารถสร้างรายได้ ควบคู่กับการทำในสิ่งที่สังคมและโลกต้องการ
ภาพจาก : ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , วัชระ อินสา