นางสาวชุติภา อัศวเลิศพลากร
นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา พรมพันธุ์
นิทานพื้นบ้าน ความบันเทิงในยุคสมัยที่การสื่อสารยังส่งต่อข้อความแบบปากต่อปาก ต้นต่อของเรื่องเล่าอาจเป็นเพียงเรื่องของตาสีตาสาทั่วไป แต่ถูกแต่งเติมและเล่าด้วยอรรถรสส่วนตัวของผู้เล่า จึงทำให้เรื่องราวสนุกตื่นเต้นและกลายเป็นนิทานพื้นบ้านที่ยังคงถูกเล่าขานไม่รู้จบ โดยทุกเรื่องเล่าย่อมมีคติสอนใจหรือการแสดงตัวอย่างผ่านพฤติกรรมของตัวละครให้เราได้เรียนรู้ และสามารถปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้อยู่เสมอ
นางสาวชุติภา อัศวเลิศพลากร เป็นหนึ่งในผู้ที่เคยได้ฟังตำนานนิทานพื้นบ้านและมองเห็นจุดเด่นของความเก๋าที่ไม่เคยเก่าของนิทานพื้นบ้านไทย ทั้งการนำเสนอวิถีชีวิต คติสอนใจ รวมถึงสติปัญญาของตัวละครที่มีต่อสถานการณ์ในเนื้อเรื่อง “ในปัจจุบัน นิทานพื้นบ้านไม่ค่อยนิยมนำกลับมานำเสนอใหม่ เราเห็นว่านิทานพื้นบ้านยังมีคุณค่าที่เด็กรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ได้จากวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน จึงอยากนำนิทานพื้นบ้านกลับมานำเสนอใหม่อีกครั้งหนึ่งให้เหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น”
“โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวโดยได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานพื้นบ้านไทย” เป็นผลงานวิจัยต่อยอดสู่สื่อหนังสือ E-Book และผลิตภัณฑ์แฟชั่น ‘Puimek studio’ ที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์นิทานพื้นบ้านไทยและส่งเสริมทักษะการอ่านให้กับเด็กๆ ผสมผสานภาพกราฟิกที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านลายเส้นน่ารักสบายตาที่เป็นเอกลักษณ์ สร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวให้เด็กๆ มีสมาธิกับเนื้อเรื่องมากขึ้น
นิทานที่เกิดจากเรื่องเล่าส่วนใหญ่ มักจะมีการกำหนดตัวละครฝ่ายดีและฝ่ายร้ายอย่างชัดเจน ทำให้ตัวละครขาดความเสมือนจริง หรือมีมุมมองเพียงด้านเดียว ในขณะที่นิทานพื้นบ้านไทย ตัวละครมีความหลากหลายทาง Character มีทั้งด้านดีและด้านร้ายในตัวเอง มีมิติที่สอนถึงความหลากหลายของผู้คนในสังคม ไม่มองโลกในแง่เดียว ผ่านการเรียนรู้จากการอ่านนิทาน
“เราทำการสำรวจนิทานพื้นบ้านที่คนไทยรู้จัก
นิทานจบแต่ยังอินกับตัวละครไม่รู้จบ จากหนังสือนิทานออนไลน์ สู่แฟชั่นเสื้อผ้า-เครื่องประดับจาก Character ตัวละคร ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทำเงินจากต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่เพิ่มมูลค่าให้กับนิทานไทยรวมไปถึงเป็นการประชาสัมพันธ์นิทานไทยให้เป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น
“แค่ E-Book คิดว่าน่าจะยังไม่เพียงพอค่ะ อ่านจบแล้วยังไงต่อ? ก็เลยเกิดเป็นไอเดียนำลวดลายจากนิทานมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นด้วย เพื่อทำให้ได้ใกล้ชิดกับนิทานมากขึ้นผ่านการแต่งกาย ผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์แฟชั่นจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแม่-ลูก เป็นชุดแต่งกายเข้าคู่กัน และ บุคคลทั่วไป เน้นเป็นกระเป๋าสะพาย หน้ากากอนามัย เข็มกลัด เป็นต้น”
และเลือกนำมาพัฒนา 2 เรื่อง ได้แก่ ‘แก้วหน้าม้า’ กับ ‘อุทัยเทวี’ โดยเรานำนิทานมาสรุปเนื้อหาใหม่ให้เด็กๆ สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมดได้โดยง่าย กระชับมากขึ้น รวมถึงออกแบบภาพประกอบใหม่ ปรับลายเส้นจากการสำรวจลายเส้นที่คนไทยชื่นชอบในยุคปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นลายเส้นที่เรียบง่ายแต่น่าสนใจ”
“สำหรับ E-Book อยากให้เป็นแพลตฟอร์มที่เป็นมิตรกับเด็กๆ เนื่องจากช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้ห่างหายจากการเข้าร้านหนังสือ การสร้าง E-Book จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เด็กๆ สามารถอ่านนิทานที่ตัวเองชอบได้ โดยนิทานของเรามีลูกเล่นเป็นภาพเคลื่อนไหว ช่วยดึงดูดเด็กๆ ให้จดจ่อกับตัวหนังสือได้มากขึ้น ด้วยขนาดตัวหนังสือที่ค่อนข้างใหญ่และประโยคในนิทานไม่ยาวจนเกินไป สามารถฝึกอ่านออกเสียงไปพร้อมกับคุณแม่หรือคนในครอบครัวได้ ซึ่งตอนจบท้ายเล่มจะมีคำศัพท์น่ารู้เพิ่มเติมอธิบายความหมายของคำในเรื่องให้เป็นเกร็ดความรู้”
คลิกอ่านเพิ่มเติม